แผลเป็น และคีลอยด์ (Scar & Keloid)
แผลเป็นนูนแดงหรือแผลเป็นคีลอยด์ (keloid) คือ เนื้อเยื่อในผิวหนังบริเวณที่แผลเพิ่งหาย เจริญเติบโตมากผิดปกติจากความไม่สมดุลในการสร้างเนื้อ จนเกิดเป็นก้อนนูน แดง มีอาการคัน และอาจขยายขนาดจนเกินรอยแผลเดิมไปได้
คีลอยด์มักเกิดขึ้นบริเวณหัวไหล่ หน้าอก ใบหู หลัง หน้าท้อง โดยเป็นหลังมีบาดแผล เช่น แผลจากอุบัติเหตุต่างๆ แผลหลังผ่าตัดหรือปลูกฝี แผลจากสิว อีสุกอีใส ดังนั้นผู้ที่เป็นแผลเป็นได้ง่ายจึงต้องระวังเรื่องบาดแผลและหลีกเลี่ยงการ สัก หรือการเจาะหู เป็นต้น
การรักษา มีหลายวิธี เช่น
1. วิธีที่ได้ผลมากที่สุดคือ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าที่แผลเป็นโดยตรง ฉีดเดือนละครั้ง หลังฉีดมีโอกาสเป็นใหม่ได้จึงต้องฉีดติดต่อกันระยะหนึ่ง การรักษาได้ผลดีกว่าในแผลเป็นขนาดเล็ก หลังรักษาควรนวดบริเวณที่นูน การนวดมีข้อดี คือ จะช่วยให้คีลอยด์นิ่ม สเตียรอยด์ฉีดเข้าง่าย ทำให้แผลเป็นยุบลงเร็วขึ้น แต่เรื่องสีจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ขึ้นกับตัวยา เทคนิกการฉีด และสภาพผิว หลังการฉีดยา มีโอกาสที่สีผิวจะซีดขาว (atrophy) และมีเส้นเลือดฝอยๆสีแดงมากขึ้น หรือถ้าฉีดมากไปหรือลึกเกินไป ผิวหนังข้างๆจะบุ๋มไปด้วย และถ้าฉีดบ่อยไปจะเกิดผลข้างเคียงจากสเตียรอยด์ได้
ยาอีกชนิดหนึ่งคือ 5- fluorouracil (5-FU) ซึ่งฉีดทุก 1-2 สัปดาห์สลับกับสเตียรอยด์จะทำให้ผลการรักษาดีมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ สีผิวมักจะเข้มขึ้นหลังฉีด
2. การผ่าตัดตกแต่ง เหมาะสมในบางราย แต่คีลอยด์มักจะขึ้นใหม่หลังผ่าตัด บางครั้งใหญ่กว่าเดิม ยกเว้นถ้า์ก้อนใหญ่อาจใช้เลเซอร์ตัดออก ร่วมกับการฉีดยาสลายคีลอยด์ เพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่
3. เลซอร์ V-beam ( Pulse Dye Laser ) สามารถลดสีแดงของแผลเป็นและช่วยให้คีลอยด์ยุบลงได้
4. การใช้ Liquid nitrogen จี้เพื่อให้ความเย็นจัดทำลายเนื้อแผลเป็น ได้ผลปานกลาง อาจเกิดแผลเป็นใหม่และสีผิวมีรอยด่างดำได้
5. การแปะแผ่น Silicone gel บริเวณแผลเป็นทุกคืนหรืออย่างน้อยวันละ 12 ชั่วโมง ติดต่อกันนาน 4 - 6 เดือน ได้ผลดีถ้าเริ่มใช้หลังแผลหายใหม่ๆ จะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นได้รับแรงกด และความชุ่มชื่นจากแผ่น Silicone gel อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดอาการเจ็บ, คัน และช่วยให้คีลอยด์มีขนาดเล็กลงและนุ่มลงได้
6. ยาทาที่ใช้ในแผลเป็น เช่น Hiruscar, Dermatik Ultra และ Strataderm อยู่ในกลุ่ม ซิลิโคนเจลแบบทา ผลยังไม่แน่นอนแต่อาจช่วยป้องกันแผลเป็นคีลอยด์ได้


.png)
.png)
.png)
แผลเป็นรอยดำ
รอยดำจากท่อไอเสียรถมอเตอร์ไซค์หรือจาก ผื่นแพ้ สามารถรักษาได้ด้วยเลเซอร์ร่วมกับเมโสธีราปี แต่ต้องทำหลายครั้ง รอยดำจะจางลงทุกครั้งที่ทำ
เลเซอร์รักษาปานดำ