ผ่าตัดแก้ไขหนังตาตก (ลงแผลใต้คิ้ว)
Subbrow Eyelid Lift
การผ่าตัดยกหางตาด้วยเทคนิค Subbrow Lifting ที่กำลังเป็นที่นิยมมากขณะนี้ คือการแก้ปัญหาหางตาตก ด้วยการยกหางตาและเย็บยึดกับบริเวณกระดูกหางคิ้ว โดยแผลเย็บจะซ่อนอยู่ระนาบเดียวกับแนวคิ้ว เมื่อแผลหายสนิทจะแลดูเนียนไปกับแนวขนคิ้ว การทำเทคนิคนี้ นอกจากหางตาตกจะถูกยกขึ้นแล้ว ก็จะทำให้ดวงตาดูสดใสหน้าดูเด็กลงไปด้วย อีกทั้งสามารถทำตาสองชั้นพร้อมกับเทคนิค Subbrow Lifting เพื่อดวงตาที่สวยเป็นธรรมชาติ ไม่ทิ้งรอยแผลยาวเกินหางตา แต่สำหรับใครที่มีชั้นตาที่สวยอยู่แล้วและไม่ต้องการทำตาสองชั้น การทำ Subbrow Lifting ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง เนื่องจากหลังการผ่าตัดจะมีอาการบวมช้ำน้อยกว่า แผลดูแลง่ายกว่า สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติหลังการผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น
ระยะเวลาในการผ่าตัดยกหางตา
ใช้เวลาเพียง 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง โดยหลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ต้องรอพักฟื้น
ผลลัพธ์อยู่ได้นานเท่าไร
เป็นการแก้ปัญหาหางตาตกด้วยวิธีการผ่าตัดเอาหนังตาส่วนเกินออก ผลลัพธ์จึงสามารถคงอยู่ได้อย่างถาวร
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดยกหางตาหรือการทำ Subbrow Lift สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องพักฟื้น เพียงปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ ดูแลแผลให้สะอาด หมั่นประคบเย็นในช่วง 3 วันแรกเพื่อลดอาการบวมและรอยช้ำ
.png)
.png)

.png)


.png)
.png)

.png)
.png)
.png)
.png)
.png)
.png)
.png)
.png)
.png)
.png)
ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
Eyelid Ptosis
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคือภาวะที่ลืมตาไม่สุด เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง ทำให้ดูตาปรือ ลืมตายาก หากเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 2 ข้างจะทำให้เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ดูเหนื่อยเพลีย แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงข้างเดียวจะเห็นได้ชัดว่าตาไม่เท่ากัน ตาข้างที่เป็นจะตกลงมาปิดตามากกว่า
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงบางคนอาจเป็นมาแต่กำเนิดอยู่แล้ว หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการใส่คอนแทคเลนส์ หรือขยี้ตาเป็นนิสัย บางคนมีตาสองชั้นอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าตาไม่สวย หรือคนชอบทักว่าตาดูเหนื่อย ดูง่วงนอนตลอดเวลา ตาง่วง ไม่สดใส หรือทำตาสองชั้นมาแล้ว แต่ไม่สวย ตาปรือๆ ภาวะกล้ามเนื้อตาส่งผลต่อการมองเห็นแล้ว ยังส่งผลต่อมาถึงรอยเหี่ยวย่นได้ เนื่องจากคนไข้ต้องยกคิ้วเพื่อการมองเห็น การกระทำนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณหน้าผาก รวมถึงรอยย่นที่หน้าผากตามมาได้
ทำตาสองชั้นแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ไหม
การศัลยกรรมทำตาสองชั้นเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่วิธีที่สามารถแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ เนื่องจากการทำตาสองชั้นเป็นเพียงการสร้างชั้นตาให้ดวงตาดูสดใสมากยิ่งขึ้น แต่ในกรณีที่ต้องการจะแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะต้องมีการดึงปรับกล้ามเนื้อตาร่วมกับการทำตาสองชั้น หากทำตาสองชั้น โดยไม่แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมด้วย อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
1. มีชั้นตาแล้ว แต่ตายังคงปรืออยู่
ในกรณีที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่ทำตาสองชั้นอย่างเดียวโดยไม่ปรับกล้ามเนื้อตา หลังทำก็จะได้ชั้นตาที่ชัดขึ้น แต่จะไม่ได้แก้ไขปัญหาภาวะตาปรือ หรือตาดูง่วงนอนเลยขอบตาบนจะยังลงมาปิดตาดำเหมือนเดิม และในอนาคตก็ต้องกลับมาแก้ไขกล้ามเนื้อตาอยู่ดี ดังนั้นการทำตาสองชั้นพร้อมปรับกล้ามเนื้อตาไปเลย จะทำให้ได้ดวงตาที่กลมโตสดใส โดยที่เราไม่ต้องไปทำชั้นตาใหญ่ๆ และไม่ต้องกลับมาแก้ไขซ้ำอีกด้วย
2. ชั้นตาไม่เท่ากัน
เนื่องจากการเปิดของตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ข้างที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีชั้นตาใหญ่กว่าเพราะตาปรือลงมา ยิ่งทำให้ตาทั้งสองข้างดูต่างกันมากขึ้น ในกรณีนี้แพทย์อาจจะต้องทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาข้างที่มีปัญหา หรือปรับกล้ามเนื้อตาทั้งสองข้าง เพื่อปรับระดับการยกของเปลือกตาให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด จะช่วยแก้ปัญหาในเคสที่ตาไม่เท่ากันได้มาก
3. ชั้นตาเป็นหลายชั้น
เกิดได้จากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเอง หรือจากที่ผู้ป่วยต้องคอยเลิกหน้าผากเพื่อช่วยลืมตา ทำให้เห็นรอยพับหลายชั้นที่ไม่ใช่ชั้นตาปกติ และไม่ตรงตำแหน่งรอยกรีดหรือรอยเย็บชั้นตา บางคนจะเห็นชั้นตาเป็นเส้นๆซ้อนพับทับกันหลายๆชั้น ในกรณีนี้แพทย์จะแก้ไขด้วยการกรีดยาวตัดหนังตาส่วนเกินออกร่วมกับการปรับกล้ามเนื้อตา ทำให้ชั้นตาที่ซ้อนทับกันหายไป
4. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว
ในเคสที่เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว จะทำให้ตาข้างนั้นปรือตกลงมาจะเห็นว่าชั้นตาดูใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง แพทย์จะแก้ไขด้วยการผ่าตัดปรับระดับการยกของเปลือตาข้างที่มีปัญหาให้ใกล้เคียงกับตาอีกข้างมากที่สุด จะทำให้ดวงตาทั้งสองข้างดูเท่ากันมากขึ้น กรณีที่มีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียวแล้วทำตาสองชั้น โดยไม่ปรับกล้ามเนื้อตาร่วมด้วย จะทำให้ชั้นตาดูไม่เท่ากัน ชั้นตาข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง ดวงตาดูปรือข้างเดียวอย่างเห็นได้ชัด การปรับกล้ามเนื้อตาร่วมกับการทำตาสองชั้นจะช่วยให้ดวงตามีขนาดใกล้เคียงหรือเท่ากับดวงตาอีกข้างมากที่สุด อีกทั้งปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว อาจนำไปสู่ภาวะสายตาเอียงหรือโรคตาขี้เกียจได้



.png)

.png)